วิธีการลงโปรแกรม+วิธีใช้ครับ
มารู้จักประเภทแผ่นภายในร้านกันนะครับ
V2D คืออะไร
V2D เป็นการนำเอาหนังจาก แผ่น VCD ไปรวมไว้ในแผ่น DVD
เนื่องจาก แผ่น DVD มันมีความมจุมากกว่าแผ่น VCDประมาณ 6-7 เท่า [ VCD จุข้อมูลได้ 700-750 MB. ส่วน DVD จุได้ 4500 MB. ] ดังนั้น จึงสามารถนำหนังจากแผ่น VCD 6-7 แผ่น ไปรวมไว้ใน DVD 1 แผ่นคิดง่ายๆ ถ้าซีรี่ย์เกาหลี 1 เรื่อง มี VCD 20 แผ่น ถ้านำมาทำเป็น V2D ก็จะเหลือเพียง 3 แผ่นแล้วภาพชัดขั้นหรือลดลงมั้ย ? ตอบคือ อันนี้ขึ้นอยู่กับความเข้าใจของคนทำด้วยครับ บางคนกำหนดคุณสมบัติในโปรแกรมไม่ถูกต้องทำให้ต้องมา Encode หรือแปลงรหัสภาพใหม่ ซึ่งทำให้ภาพแย่ลง VCD ภาพมันก็ได้แค่นั้นอยู่แล้ว ก็แย่ลงไปอีกถ้ากำหนดได้ถูกต้อง ภาพก็จะเหมือน VCD ต้นฉบับทุกประการครับ คือต้นฉบับมาอย่างไร ก็ไปอย่างนั้น V2D อันที่จริงแล้วมันก็คือ DVD นั่นเอง ใช้แผ่น DVD และมีเมนูแบบ DVD อันนี้แล้วแต่ความสามารถของผู้ทำด้วย ว่าจะทำเมนูได้สวยงามอลังการแค่ไหน ใครเจ๋งกว่าใคร ก็ว่ากันไปแต่ V2D ต้องเล่นกับเครื่องเล่น DVD ทั่วไป หรือดูกับคอมที่มี Drive DVD ครับผม ใช้เล่นกับเครื่องเล่น VCD ไม่ได้นะจ๊ะถ้าเปรียบเทียบกันล่ะ ในหนังเรื่องเดียวกัน ระหว่าง VCD V2D DVD VCD -- มีแผ่นจำนวนมาก จัดเก็บรักษายาก ต้องเปลี่ยนแผ่นบ่อยๆ ราคาไม่แพงแต่ก็ไม่ถูก เพราะจำนวนแผ่นเยอะ ไม่มีเมนูให้เลือกตอน บางเรื่องดูในคอมไม่ได้ เพราะผู้ผลิต แอบใส่ไวรัสเอาไว้ V2D -- มีเพียง DVD 3-4 แผ่น จัดเก็บรักษาง่าย ความชัดเหมือน VCD ทุกประการ มีเมนูให้เลือกตอน ใช้เล่นกับเครื่อง DVDเพราะมีจำนวนแผ่นน้อย ทำให้ราคาถูก จึงได้แพคเกจสวยงาม DVD -- มีแผ่น DVD มากกว่า V2D คือ 11-12 แผ่น แต่ได้ภาพที่ชัดกว่า และเลือกเสียง เลือกบรรยายได้หลายภาษา
สรุปคือ
V2D คือ DVD แต่ภาพและเสียงแบบ VCD
V2D ใช้กับเครื่องเล่น DVD หรือ Drive DVD เท่านั้น ใช้กับเครื่องเล่น VCD ไม่ได้
V2D เป็นอีกทางเลือกแห่งความคุ้มค่า มีราคาถูกกว่า VCD และ DVD
คุณภาพของ D2D
D2D ย่อมาจาก DVD to DVD เป็นการรวมเอา ตัวหนังที่เป็น DVD ลงในแผ่น DVD อีกครั้ง เพื่อเป็นการประหยัด เนื้อที่
โดยทั่วไป DVD Master จะมีจำนวนตอนอยู่ 2-4 ตอน ต่อ 1 แผ่น DVD (การ์ตูนความยาว 20-25 นาที) แต่ D2D จะบรรจุจำนวนตอนได้ถึง 4-5 ตอน ต่อ 1 แผ่น DVD
- คุณภาพของภาพ เกือบเทียบเท่า หรือ ด้อยกว่าเล็กน้อย DVD Master
- คุณภาพของเสียง เท่ากับ DVD Master ขึ้นอยู่กับ ต้นฉบับว่าเป็น Dolby Digital 2.0 หรือ 5.1
- เมนู อาจจะด้อยกว่า ตัวมาสเตอร์ เนื่องจากต้องจัดทำขึ้นมาใหม่ (ความสวยงามขึ้นกับความสามารถของผู้จัดทำ)
- ส่วนใหญ่ไม่มี Special Feature
- สามารถเลือก เสียงพากษ์ และ บรรยาย ได้ (ตามต้นฉบับ)
แผ่น V2D และ D2D แตกต่างกันตรงไหน
ต่างกันตรงคุณภาพและปริมาณของหนังครับ
1. แผ่น V2D - คุณภาพของหนังเหมือน VCD แต่ถูกเก็บอยู่ใน แผ่น DVD
2. แผ่น D2D - คุณภาพของหนังเป็น DVD ส่วนใหญ่บรรจุอยู่ในแผ่น DVD แผ่นละ 2 ตอน
แผ่น T2D คืออะไร
T2D ย่อมาจาก TV to DVD คือการนำละครที่อัดจาก TV มาใส่ลงไปในแผ่นดีวีดี ความต่างก็คือ ความคมชัดจะชัดกว่าหรือน้อยกว่า DVD ก็ขึ้นอยู่กับต้นฉบับและการแปลงไฟล์ครับผม ซึ่ง T2D ที่เป็นละครไทย หลายคนอาจสงสัยว่าแล้วอัดมาจากทีวี อย่างนี้จะชัดเท่าร้านอื่นเหรอ ร้านทุกร้านที่ขายละครไทยอยู่ 99 เปอร์เซ็นต์ ต้นฉบับจะเป็นอันเดียวกันที่อัดมาจากทีวี ถ้าซื้อละครไทย หรือที่เรียกว่า T2D ไม่ว่าจะซื้อร้านไหนส่วนใหญ่คุณภาพก็จะเท่า ๆ กัน แต่ T2D ที่เป็นหนังเกาหลี ญี่ปุ่น หรือหนังฝรั่ง TV บ้านเค้าเป็นแบบ HDTV (อธิบายในหัวข้อถัดไป) ซึ่งมีความชัด/ละเอียดสูงมาก (อยากให้บ้านเรา ส่งสัญญาณภาพมาเป็น HD บ้างจัง จะได้เห็นสิวน้องอั้ม 55555 เพราะชัดมาก) จึงทำให้เป็น T2D มีความคมชัดมากกว่า T2D บ้านเรา บางเรื่องอาจเรียกได้ว่าชัดกว่า DVD MASTER เลยทีเดียว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับการจัดทำนะครับผมเอาง่ายๆนะครับ ถ้าเป็นหนังเกาหลี ญี่ปุ่น ฝรั่ง ถ้าเป็น T2D ก็โอเคเลย ชัดแจ๋วเลยครับ
การทำงานของ HDTV
HDTV 2 DVD อันดับแรกเรามารู้จักคำว่า HDTV กันก่อนครับ HDTV (Hi-definition TV) หรือให้แปลตรงตัวก็คือ โทรทัศน์ความละเอียดสูงมันเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ (broadcasters) ที่มีความละเอียดมากกว่าการถ่ายทอดสัญญาณในปัจจุบัน ( NTSC, SCEM,PAL ) แต่ในต่างประเทศมีการใช้ระบบนี้กันอย่าแพร่หลายมากแล้วเช่น ญี่ปุ่น, เกาหลี, และแถบ ยุโรป แถวๆบ้านเราก็มีนะครับ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ การส่งสัญญาณจะเป็นระบบ Digital ที่ให้ความคมชัดทั้งภาพและเสียงดีกว่าที่เราเปิดจาแผ่น DVD เสีย อีกแต่ในบ้านเรายังไม่มีการส่ง สัญญาณประเภทนี้ออกมาอย่างเป็นทางการเท่าไหร่ที่เห็นจะมีแต่ทาง เคเบิลทีวี มีส่งออกมาแล้วบ้างแต่กับ ฟรีทีวียังไม่เห็นนะครับเพราะการที่จะเปลี่ยนเครื่องส่งมาเป็นระบบใหม่เลย นั้น ค่อนข้างสูงดังนั้นจึงยังไม่มีใครลงทุนซักเท่าไหร่ ประกอบกับเครื่องรับ ( TV ) ที่รองรับ HDTV จริงๆ นั้นพึ่งจะมาเป็นที่นิยมในบ้านเราไม่นานสักเท่าไหร่ประมาณ 1-2 ปีได้ฉะนั้นก็น่าจะอีกไม่นานที่บ้านเราจะได้รับชม HDTV กันอย่างเต็มรูปแบบไม่นับที่โหลด Bit กันมาเปิดดูกันนะครับ
ร่ายยาวกันมาพอสมควรเรามารู้จักกับHDTVกันให้มากกว่านี้ดีกว่าครับ หลายๆคนน่าจะรู้จักกับระบบในการส่งสัญญาณภาพที่ใช้ในปัจจุบันกันดีพอสมควรแล้วนะครับ คือ PAL และ NTSC ซึ่งจะใช้กับ TV รุ่นเก่า การที่เราจะใช้ระบบ HDTV นั้นจำเป็นต้องใช้กับ TV รุ่นใหม่ที่เป็น LCD TV ที่รองรับ HDTV ด้วย สัญญาณดิจิตอลที่ส่งมาที่ TV นั้นจะผ่านกระบวนการบีบอัดข้อมูลสัญญาณดิจิตอล โดย MPEG-2 ทำการถอดรหัส หลังจากนั้นจะถูกส่งไปที่หลอดภาพทำหน้าที่ยิงลำแสงออกมายังหน้าจอ TV ทำให้เกิด Pixel (จุดภาพ) บนจอภาพแต่ในระบบ HDTV นั้นจะให้ Pixel ที่สูงกว่า TV ทั่วไปมากเลยทีเดียวทำให้ภาพที่ออกมาละเอียดคมชัด ไร้ซึ่งอาการกระพริบของสัญญาณภาพ
เปรียบเทียบการสแกนของ TV และ HDTV
ลักษณะการยิงลำแสงหรือการ Scan ภาพนั้นแบ่งได้ 2 แบบดังนี้
แบบ Interlaced จะทำการแบ่งภาพออกเป็น 2 เฟรม คือเฟรมที่เป็นเลขคี่และเลขคู่ และจะ scan ภาพสลับกันไปเรื่อยๆ จนครบ 1080 เส้น จะมีการกระพริบระหว่างการสลับเฟรมคี่และคู่
แบบ Progressives Scan จะทำการ scan โดยเรียงไปทีละเส้นสแกนเรียงกันไปเรื่อยๆจนครบ 1080 เส้น จะทำให้การกระพริบน้อยลง ภาพที่ได้จะดูนิ่งมากยิ่งขึ้น
การ Scan ภาพในรูปแบบของ HDTV นี้จะเป็นแบบ wide screen ที่มีอัตราส่วนของจออยู่ที่ 16:9 ต่างจาก TV รุ่นเก่าจะที่เป็น NTSC หรือ PAL อัตราส่วนจะอยู่ที่ 4:3
ตัวอย่างความละเอียด
480p = 338,000 pixels / frame (704 x 480)
720p = 922,000 pixels / frame (1280 x 720)
1080i = 1,037,000 pixels / frame (1920 x 1080)
1080p = 2,074,000 pixels / frame (1920 x 1080)
P = Progressive
I = Interlace
HDTV2DVD
HDTV คือ การส่งสัญญาณระดับHidef ซึ่งมีความระเอียดของภาพสูงมาก กล่าวคือความละเอียดที่ 1 ล้านพิกเซล และ 2 ล้านพิกเซลบนจอFull HD ซึ่งปัจจุบันบ้านเรายังไม่มีผู้ให้บริการ ไม่ก้อเสียค่าบริการหลายพันบาทต่อเดือน ในการรับชม ซึ่งในเกาหลีหรือยี่ปุ่นส่งสัญญาณระดับHidefในการรับชมรายการทีวีตามบ้าน กันแล้ว
ของบ้านเค้ามาทำลงDVDเองซึ่งได้คุณภาพความชัดของภาพดีในระดับ น่าพอใจถึงแม้จะดูบนจอความระเอียดสูงอย่างLCDTVก็ยังให้สีสันและความคมชัด ที่ดีไม่เหลี่ยมแตกโมเสกแบบV2DหรือDVDที่มีคุณภาพของภาพต่ำ
สรุปง่ายๆ ก็คือ HDTV2DVD จะมีความคมชัดกว่า V2D และ D2D แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับการทำด้วยนะครับ แต่ข้อเสียก็คือ จำนวนแผ่นจะเยอะกว่า V2Dและ D2D ครับ
VDO2DVD
คือแผ่นที่ทำมาจาก VDO ครับ
DVD FILE คืออะไร
DVD FILE คือ แผ่น DVD ที่นำไฟล์ดิบบรรจุลงไปในแผ่นครับ ซึ่งไม่สามารถเล่นกับเครื่องเล่น DVD PLAYER ได้
ต้องนำแผ่นไปเปิดกับเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้นครับ
แต่คุณลูกค้าสามารถก็อปปี้ไฟล์ดิบเหล่านั้นไปเล่นในโทรศัพท์มือถือ ANDRIOD IPHONE IPAD หรือ BOX ดูหนังต่างๆได้เลยครับผม
ซึ่งไฟล์จะมีหลายชนิดครับยกตัวอย่างเช่น
DVD FILE MKV / DVD FILE AVI / DVD FILE MP4 เป็นต้น
หลายคนคงรู้จักแน่นอนไฟล์ .MKV มันคือไฟล์อนิเมะที่เราโหลดกันประจำ จะค่อนข้างพบในรูปแบบ 720p ขึ้นไป
Matroska หรือ Matroska Multimedia Container คือรูปแบบ Container เหมือนกล่องที่บรรจุเอาไฟล์ภาพ เสียง ซับไตเติล เข้าด้วยกัน ซึ่งไม่ใช่การ Compression หรือการบีบอัด ทำให้ไม่สูญเสียคุณภาพของภาพหรือเสียงแต่อย่างใด โดยเจ้า MKV สามารถบรรจุ วีดีโอ เสียง รูปภาพ ซับไตเติล แต่ละชนิดบรรจุได้มากกว่า 1 ไฟล์ โดยมีฟอร์แมตต่างๆคือ .MKV files (matroska video), .MKA files (matroska audio) and .MKS files (subtitles) Mastroska เป็นรูปแบบไฟล์ประเภท Open Source สามารถนำไปพัฒนาได้โดยไม่ติดลิขสิทธ์ โปรแกรมจำพวก Tools หรือ Player จึงมีให้ใช้กันได้ฟรี
Matroska แพร่หลายในหมู่ แฟนซับอนิเมะ เพราะมันสามารถที่จะเลือกฟังเสียงต้นฉบับ เปลี่ยนเสียงพากย์หรือซับไตเติลก็ได้ รูปแบบ Matroska ส่วนใหญ่จะใช้วิดีโอประเภท H.264 และแทร็คเสียงประเภท AC3 / AAC / DTS / Vorbis และซับไตเติลมากกว่า 1 ซับ (มักใช้คู่กับแบบอักษร TrueType หรือ OpenType).
มีคุณลักษณะคล้ายแผ่นภาพยนต์ DVD ที่สามารถเลือกเสียง/ซับไตเติลได้ เพียงแต่รวมอยู่ใน MKV แค่ไฟล์เดียวเท่านั้น
Matroska คือคำเขียนในรูปภาษาอังกฤษ ในภาษารัสเซียจะเขียนว่า matryoshka (матрёшка) เกิดขึ้นในวันที่ 6 ธันวาคม 2002 จากการแตกยอดมาจากโปรเจ็ค MCF (Multimedia Container Format) ได้เิกิดความขัดแย้งและความคิดเห็นไม่ตรงกันระหว่าง Lasse Kärkkäinen หัวหน้าทีมพัฒนาโปรเจ็ค MCF (ต่อมากลายเป็นก่อตั้ง Matroska) และ Steve Lhomme เกี่ยวกับการใช้ ภาษา Extensible Binary Meta Language (EBML) แทนรูปแบบของ binary เดิม หลังจากแยกออกมาแล้วก็ได้ก่อตั้ง Community ขึ้นมา ซึ่งเติบโตอย่างรวดเร็วจนโครงการนี้ได้เกิดขึ้นอย่างเต็มตัว
โปรแกรมที่รองรับ
ALLPlayer
ALShow
BS.Player
Chameleo
CorePlayer
DivX
GOM Player
Gstreamer-based Players (Totem, etc.)
jetAudio
Kantaris
The KMPlayer
TotalMedia Theatre
Media Player Classic
MPlayer
Totem
ShowTime
SMPlayer
Target Longlife Media Player
The Core Pocket Media Player
Totem Movie Player
VLC media player
xine
Zoom Player
Daum PotPlayer
Hardware ที่รองรับ
ใน ส่วนของ Hardware ใครล่ะจะไปนึกว่ารูปแบบ Open Source แบบนี้ จะมีเครื่องเล่นรองรับด้วย (ส่วนใหญ่เคยเห็นแต่พวก Divx,Mp4,AVI) ซึ่งชิบวีดีโอที่รวมส่วนถอดรหัส Matroska ได้ตัวแรก เป็นของ Texas Instruments มีชื่อว่า "DaVinci" อยู่ในเครื่องเล่นสือชนิดพกพา Cowon A3 แม้ว่าจำนวนที่เพิ่มมากขึ้นของเครื่องเล่นสื่อพกพาซึ่งตอนนี้สามารถรองรับ ไฟล์ AVI ได้แล้ว แต่กับ Mastroska กลับไม่ค่อยได้รับการสนับสนุนจากบรรดาผู้ผลิต เพราะลังเลว่า รูปแบบนี้ยังไม่แพร่หลายนัก พูดไปก็นึกถึงเรื่อง "ไก่" กับ "ไข่" ถ้าไม่ทำเครื่องให้มันรองรับ แล้วเจ้า Matroska จะเป็นที่แพร่หลายได้อย่างไรล่ะ!
ส่วน Hardware ที่รองรับนั้นตอนนี้มีทีวีของ Samsung กับ LG Matroska ที่รองรับและได้รับการยืนยันแล้วใน Samsung's 6 series (LE40B650) กับ 7 series (UE40B7020) และ LG's LH5000 กับทีวีในรุ่นที่สูงกว่า ไฟล์ Matroska สามารถเล่นกับทีวีพวกนี้ได้โดยตรง เพียงแค่นำ USB หรือ HDD พกพา ที่มีไฟล์ Matroska เสียบเข้าไปในช่อง USB ของทีวีเท่านั้น
สรุปคือ ไฟล์ MKV ไม่ใช่มาตรฐานการบีบอัดชนิดใหม่ แต่เป็นการนำไฟล์ Contain ต่างๆ มารวมกันเป็นไฟล์เดียว ถ้าใครเคยใช้โปรแกรมประเภท DVD to MKV ซึ่งพอกระบวนการเสร็จสิ้น จะได้ไฟล์ .MKV แต่ว่าเวลาแยกส่วนออกมาดูจริง ไฟล์ภาพอาจกลายเป็น .avi ไฟล์เสียงเป็น .ac3 (แล้วแต่ว่าโปรแกรมตั้งค่าแบบไหน) จะเห็นได้ว่า มันเป็นแค่ "กล่อง" ที่มีนามสกุล .MKV จริงๆ ส่วนข้อสงสัยที่ว่า ทำไมถึงใช้กันจัง? ส่วนตัวคิดว่าเป็นเพราะมันสามารถเปิดปิดซับ เลือกเสียงได้แบบ DVD และสามารถออกมาแก้ไขได้ง่าย ที่สำคัญ โปรแกรมเกี่ยวกับ MKV มีให้ใช้ฟรีเพียบเลยครับ
Mpeg4 เป็นมาตรฐานในการย่อขนาด เสียง และภาพยนตร์ อันใหม่ที่มีความสามารถสูงครับ ในเรื่องของขนาดถ้าย่อให้ขนาดเล็ก ก็สามารถเล็กได้เท่า VCD แต่ให้คุณภาพดีเกือบ DVD, แต่ถ้าเลือกคุณภาพ ก็สามารถที่จะบีบอัดหนังในคุณภาพระดับ High Defination ได้ ไฟล์ DivX ก็เป็นไฟล์ชนิดหนึ่งที่เอามาตรฐานการลดขนาดภาพของ Mpeg4 มาใช้
นอกจากเรื่องภาพแล้ว ความสามารถเรื่องเสียงก็สูง
แต่ที่อาจจะทำให้เกิดความสับสนก็คือ ในไฟล์ Mpeg4 นั้นเราสามารถรวมหลายๆ อย่างเข้าไปเก็บไว้ได้ในไฟล์เดียวกัน เช่นอาจจะเสียงอย่างเดียว, หรือทั้งภาพและเสียง+sub title หลายๆ คนเลยไม่แน่ใจว่า ตกลงแล้ว เจ้า mpeg4 มันเป็นมาตรฐานของภาพหรือเสียง อย่างไรแน่
อย่างไรก็ดี ในบ้านเรา เครื่องเล่น MP4 มักจะหมายถึง เครื่องที่สามารถเล่นไฟล์ที่เป็นภาพยนตร์ได้ (ซึ่งถ้าพูดจริงๆ แ้ล้ว เครื่องที่เล่น MP4 ได้ ไม่จำเป็นจะต้องเล่น ภาพยนตร์ได้เสมอไป ยกตัวอย่างเช่น iPod ในรุ่นก่อนหน้านี้ ที่ฟังเพลงได้อย่างเดียว ก็สามารถเล่นเพลงที่ใช้มาตรฐานการเข้ารหัสด้วย AAC ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐาน MPeg4 ด้วยเช่นกันครับ
ป.ล.แผ่น DVD บางเรื่องไม่สามารถ
เล่นกับเครื่องเล่น DVD ทั่วไปได้นะครับ
ต้องเปิดกับเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น
ซึ่งโดยส่วนใหญ่ผมจะแจ้งให้ทราบในรายละเอียดของแต่ละแผ่นแล้วครับ
หรืออาจจะมีข้อผิดพลาดบ้างในกรณีที่ไม่ได้แจ้ง
ยังไงให้ลองกับเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อนนะครับ
เพราะบางแผ่นทำมาเพื่อเปิดกับเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้นครับ
ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นไฟล์ IMAGE ครับผม
ซึ่งต้องมีโปรแกรมในการเปิดไฟล์
คุณลูกค้าสามารถโหลดไฟล์ได้ที่นี่ครับ